Earth 🌎 + Water 🌊 = Flowers 💐

artwork number 8 (planet)

Brand New Art Project 2019
Pannawat Muangmoon 
Sa·Was·Dee 33rd Part of body and the 8th Planet
24 August – 20 September 2019 
Gallery FL.2, WTF Gallery
7 Soi Sukhumvit 51 Bangkok, Thailand


Pannawat contemplated over with pictures of greetings and blessings received every day. from his family through an application on social media Pannawat's project is to transform the experience of those digital images through the painting process(analog). This process involves the transfer of "energy" changes while contemplating. Consideration of the relationship and feelings he has received  This "energy" comes from the Internal energy of relationships between generations of members of a family that are far away. Social relationships are revealed through the process of resizing, copying, re-copying or editing these images. While those pictures “Painting” becomes a daily routine that challenges artists. He learns to develop skills that he is not familiar with, which is different from what he is good at. The artist acts as an intermediary for greeting image each other by "Sawasdee"

Text by YAP SAU BIN (Curator)

Start at 3.44 min from video

Installation Views at WTF Gallery
7 Soi Sukhumvit 51 Bangkok, Thailand

TEXT

วันหนึ่งในเดือนมิถุนายน 2562 ของชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของผม โดยมี LINE แอพพลิเคชั่นคล้ายอวัยวะส่วนที่ 33 ที่คอยใช้สื่อสารกับคนรู้จักหลากหลายสถานที่ ในวันนั้นได้สังเกตเห็นการแจ้งเตือนกลุ่ม LINE ของครอบครัวมีสีแดงที่แสดงจำนวนตัวเลขเตือนให้ทราบว่าไม่ได้อ่านหลายร้อยข้อความแล้ว ซึ่งที่มาคงมาจากความเคยชินและคิดไปเองว่าไม่มีอะไรน่าสนใจทำให้ไม่ได้เข้าไปดูนานแล้ว แต่ในวันนั้นต่างออกไป ภายหลังจากที่ตัดสินใจย้อนดูบทสนทนา ทำให้ได้พบเรื่องที่น่าสนใจและประทับใจในเวลาเดียวกันผ่าน “ภาพสวัสดี” ของวันต่างๆ หลากสีที่ลุงๆ ป้าๆ ส่งมาให้ทุกวัน ในฐานะที่อยู่กับภาพถ่ายมา 1 ใน 4 ของชีวิตและมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านอวัยวะที่ 33 ภายในภาพเหล่านั้นเป็นภาพที่ทั้งเชย เบลอและไม่เท่เลย ยังไม่รวมถึงสไตล์ของตัวอักษรและลิขสิทธิ์ของภาพ ความไวของการชื่นชมภาพเหล่านั้นยิ่งทำให้มองข้ามมันไปอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันผมอีกคนก็ถามตัวเองในใจว่าทำไมถึงเฉยชาและไม่สนใจมันจังเลยว่ะ
จากความคิดที่ผุดขึ้นนี้เป็นสาเหตุให้ค่อยๆ กลับไปอ่านข้อความอย่างช้าๆ มองภาพเหล่านั้นใหม่โดยปราศจากความคุ้นชินเดิมๆ และสิ่งที่พบคือความอิ่มใจกับประสบการณ์เล็กๆ ของภาพและข้อความคำอวยพรในนั้น ทำให้ย้อนกลับมาทบทวนในชีวิตทั่วๆ ไปนี้น้อยมากที่จะได้ยินคำเหล่านี้ คำที่แสดงนัยยะบางอย่างต่อความหมายอีกระนาบของคำว่า “สวัสดี” ที่ผมอาจหลงลืม หลังจากนั้นจึงค่อยๆ เซฟรูปภาพเหล่านั้นในแต่ละวันเก็บไว้ และมีบทสนทนากับตัวเองอีกคนว่า หรือสิ่งที่เราปฏิเสธก่อนหน้านี้มันมาจากช่องว่างของวัยและยุคสมัย หรือความต่างของสังคม-วัฒนธรรมที่ถูกหล่อหลอมมา แล้วรอยต่อของมันยังพอมีอยู่บ้างรึเปล่า การหยุดเลื่อนหน้าจอโทรศัพท์อย่างว่องไวในครั้งนั้นได้สลายมโนทัศน์ในบางมุม เปิดโอกาสให้ผมได้จินตนาการไปถึงใจของผู้ส่งและดื่มด่ำกับภาพเชยๆ พร้อมความสุขอย่างที่ไม่เคยได้มาก่อน เป็นเหมือนการพบวิธีการภาวนาของตนอีกรูปแบบหนึ่งโดยบังเอิญจากอวัยวะชิ้นที่ 33
ความสนใจที่อยากบันทึกช่วงเวลาเหล่านี้ไว้เพื่อสร้างรอยต่อของช่องว่าง จึงกลับมาสนใจการวาดภาพ ที่เป็นอีกหนึ่งปฏิบัติการทางศิลปะโดยมี “เวลา”และ “วัตรประจำวัน”มาเกี่ยวข้อง ประหนึ่งว่าเป็นการยืดเวลาของเหล่าภาพสวัสดีที่ปรากฏบนหน้าจอโทรศัพท์นั้นให้นานขึ้นผ่านตัวกลางคือสี ผ้าใบและตนเอง เวลาที่ดำเนินไปจากวินาทีไปเป็นหนึ่งวันและสัปดาห์จนถึงปี คำสวัสดี คำอวยพร ความชินชาและความต่างของยุคสมัย ทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้โลกที่กำลังหมุนรอบตัวเองและมีดาวทั้ง 7 เป็นเพื่อน ที่ซึ่งได้สร้างกิจวัตรประจำวันทั้ง 7 ขึ้นโดยเรียกว่า “สัปดาห์” และคำถามของมนุษย์คนหนึ่งในฐานะสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้ว่า เราจะมี “วัตร” อย่างไรในความแปรเปลี่ยนนี้ เรายังสามารถมีรอยยิ้มในขณะที่เห็นดอกไม้กำลังเบ่งบานได้ไหม?

My daily routine is generally with the LINE application as the 33rd part of my body that I use to communicate with people from different places.  One day in June 2019, I noticed the red warning numbers of hundreds of unread messages from the LINE family group.  It is because I get used to it and I think there was nothing interesting to read.  But that day, it was different.  I scrolled up to read those conversations; I realized the ‘Sawasdee’ images sent according to the color of each day by my uncles and aunts were interesting and impressive.  I am familiar with photography for a quarter of my life and it tends to increase because of that 33rd part of the body.  Those images were outdated, blur and unattractive including style of the font and copyright of the image.  A brief look at those photos made me ignore them quickly.  However, at the same time, I asked myself why was I not interested in them at all.
From this idea, I gradually read messages and look at those images thoroughly.  I experience the happiness and well-wishes in those images.  I think about my daily life.  I rarely hear and almost forget the words that show the parallel meaning of ‘Sawasdee’.  Later, I gradually save those kinds of images.  I have reflected on such resistence.  It may come from the generation gap and age or from socio-cultural differences.  Is there any link between them?  The moment I stop sliding mobile phone screen quickly reconstructs my perception and increases my imagination to the intention of the sender.  I have time to appreciate those old-fashioned photos happily which has never happened before.  It is like I accidentally discover another form of praying from the 33rd part of the body. 
My interest to collect those experiences in order to create the link between those gaps makes me return to painting, which is a kind of medium that concerns ‘time’ and ‘routine’.  It seems to extend the moment of the Sawasdee image that appears on the mobile phone screen through color, canvas and me.  From a second to a day, to a week and to a year, the word Sawasdee, the well-wishes, the negligence and the generation difference; all happen on the Earth which revolving around itself and has 7 planets as friends.  Earth’s rotation creates 7 routine days or ‘week’.  There is a question from a human being who has a relation with it, how to perform our ‘Routine’ during these changes.  Can we still smile when we see the blooming flowers?
Artist alk at Bangkok University 
Process
at Condo Lumpini Ville Onnut - Ladkrabang, Bangkok, year in 2019
Openning
Press
Fine Art Magazine Issue 134
Back to Top